วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Homework 1

Homework 1
1.      First-year students have studied English for at least 10 years.
-         นักศึกษาปี 1 ต้องเคยเรียนภาษาอังกฤษมาอย่างน้อย 10 ปี
2.      An accident took place when the plan was flying above a paddy field.
-         อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินกำลังบินผ่านทุ่งนา
3.      The truck driver was unidentified.
-         คนขับรถบรรทุกไม่มีชื่อ
4.      Tomorrow I’ll go out town.
-         พรุ่งนี้ฉันจะออกไปนอกเมือง
5.      Yesterday it rained hard.
-         เมื่อวานฝนตกหนัก
6.      We invited him to give a lecture over here.
-         เราเชิญเขามาบรรยายที่นี่
7.      I used to study at a boarding school.
-         ฉันเคยเรียนที่โรงเรียนประจำ
8.      Have you eaten?
-         คุณกินอะไรรึยัง?
9.      I’m still doing my homework.
-         ฉันยังทำการบ้านอยู่
10.  He always teases me.
-         เขาล้อฉันเสมอ
11.  I always get wrong answers.
-         ฉันมักตอบผิดเสมอ
12.  I was about to ask you about that.

-         ฉันอยากถามคุณเกี่ยวกับสิ่งนั้น

Learning log 1

Learning log
            สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียนจะเกี่ยวกับการเรียนรู้การให้ข้อมูลให้มีความเข้าใจ  เพราะเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานต่อผู้เรียน  และหลักการแปลภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพื่อให้งานแปลออกมาถูกต้องมีความกระชับ  สละสลวย  การเรียนร้นอกห้องเรียนจะเกี่ยวกับการเรียนรู้หลักการแปล  และการฝึกแปลโดยเริ่มจากการแปลประโยคง่ายๆไม่มีความซับซ้อนมากนัก
            I + 1 = Comprehensible Input
            I หมายถึง Input เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรง  โดยการที่ผู้สอนจะป้อนข้อมูลแก่ผู้เรียนได้นั้น  ผู้สอนจะต้องทราบก่อนว่าผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้เดิมในระดับใด  เพื่อจะได้จัดทำการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน
            1 หมายถึง ผู้สอน โดยผู้สอนจะต้องสอนเนื้อหาที่มีความยากขึ้นไปอีกระดับหนึ่งให้แก่ผู้เรียน
            จากสมการ I + 1 = Comprehensible Input ข้างต้น  ผู้สอนควรทราบถึงพื้นฐานทางความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่า  ผู้เรียนของท่านมีความรู้อยู่ในระดับใด  เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเรียนการสอนและผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอนให้มีความยากเพิ่มขึ้นจากความรู้เดิมของผู้เรียนมาอีกหนึ่งระดับ
            ในการแปลจากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยนั้น  จะต้องแปลให้มีความสั้น  กระชับ  สละสลวย  และมีใจความครบสมบูรณ์  และต้องคำนึงถึงการใช้กาลในภาษาอังกฤษด้วย  ในภาษาอังกฤษถือว่ากาลมีความสำคัญมาก  ส่วนในภาษาไทยจะไม่มีคำที่บ่งบอกถึงกาล  จะทำให้การแปลเป็นภาษาไทยมีความผิดเพี้ยนไปได้ เช่น
            He lived in Phuket for a year.
            He has lived in Phuket for a year.
            จะเห็นได้ว่าประโยคสองประโยคนี้มีความคล้ายกัน  แต่มีความหมายต่างกัน  เพราะมีการใช้กาลในรูแบบที่ต่างกัน  เมื่อแปลเป็นภาษาไทยจะได้ความหมายดังนี้
            ประโยคที่หนึ่ง : เขาเคยอยู่ภูเก็ตหนึ่งปี
            ประโยคที่สอง : เขาอยู่ภูเก็ตมาแล้วหนึ่งปี
            เราจะเห็นได้ว่ารูปของคำกริยาที่ใช้มีความต่างกาลกัน  โดยในภาษาไทยรูปกริยาจะไม่บอกกาลให้ทราบ  ดังนั้นเวลาแปลจึงจำเป็นต้องเติมคำขยายเพื่อให้เกิดความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน  คือ  ไปหาหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการแปลมาอ่าน  เพื่อทำความเข้าใจ  เวลาที่ทำงานแปลจะได้แปลได้อย่างถูกต้อง  กระชับ  สละสลวย  และมีความครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับ
            ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้ภายในห้องเรียนมีความสำคัญและการเรียนรู้นอกห้องเรียนก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย  เราอย่าพึ่งเนื้อหาเฉพาะในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว  แต่เราต้องหาเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อีกด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะความชำนาญทางด้านการแปล


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของกการแปล
            ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง  ตลอดจนการศึกษา  จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีอีกด้วย  ดังนั้นการแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ  การแปลจึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์  พินิจพิจารณาและกลั่นกรอง  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน  ผู้แปลต้องตีความถ้อยคำสำนวนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด  และเลือกใช้คำที่เหมาะสม  ตลอดจนศึกษาค้นคว้าศัพท์เฉพาะในวิชาการทุกสาขา  เพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
            การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส  จึงมีการฝึกนักแปล  มีการแปลอกสารในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก 
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย  ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว  ความต้องการด้านการแปลจึงมีมากขึ้นตามลำดับ  นอกจากนี้การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ  ทำให้เกิดความสันติภาพในโลก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย  เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ  ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา  การแปลเป็นเรื่องที่จำเป็น  เนื่องจากในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องราว  การพัฒนา  ธุรกิจพาณิชย์  จึงต้องมีกลุ่มนักแปลที่มีความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นๆ  กับนักภาษาที่สนใจในสาขานั้นด้วย  เพื่อพัฒนาภาษาให้ดีให้เหมาะสมกับเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
            เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา  การใช้ภาษา  รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ  เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว  โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
            การแปลคือการถ่ายทอดความคิดตากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง  โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ  ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น  อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกกด้วย
คุณสมบัติของผู้แปล
1.       เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.       สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.       เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.       เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.       ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้  รักเรียน  รักอ่าน  และรักการค้นคว้าวิจัย
6.       ผู้แปลจะต้องมีความอดทนและเสียสละ
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.       เป้าหมายที่สำคัญของการแปล  คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2.       การสอนแปลให้ได้ผล  เกี่ยวเนื่องกับ 2 ทักษะ  คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.       ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4.       ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
บทบาทของการแปล
            การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร  คือ  ผู้รับสาร (receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง  แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง  ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ  เพราะในการสื่อสารที่ผู้รับสารเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง  เข้าใจข้อความผิดขึ้นได้
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1.       ความหมายถูกต้อง  และครบถ้วนตามต้นฉบับ (equivalence in meaning)
2.       รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ (equivalence in style)
3.       สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา (register)
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.       ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ  ไม่ติดสำนวนฝรั่ง 
2.       สามารถนำต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้  เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.       ใช้การแปลแบบตีความ  แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่  ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
            การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน  การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1.       การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.       กาตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ  อาจดูจากสิ่งของ  รูปภาพ  การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
            ความใกล้เคียง (context) และความคิดรวบยอด (concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphrasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ  ความหมายจากความรอบข้างหรือปริบทของข้อความ  ผู้แปลต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจารูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
1.       องค์ประกอบของความหมาย
1.1   คำศัพท์ ถือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
1.2   ไวยากรณ์ หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา  เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
1.3   เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
2.       ความหมายและรูปแบบ
2.1   ในแต่ละภาษาความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.2   รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย  ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริบทเป็นสำคัญ
3.       ประเภทของความหมาย
3.1   ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หมายถึงคามหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งที่เป็นรูปธรรม-นามธรรม  หรือเป็นความคิด  มโนภาพ
3.2   ความหมายแปล (connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ซึ่งอาจเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.3   ความหมายตามปริบท (contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย  ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
3.4   ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจาการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย  ผู้แปลต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ  โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 
-          สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
-          สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
-          ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
            เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล  เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน  โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆๆของตนในการแปล  และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
            เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา  จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด  ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย  การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่างๆ จะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ  การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ  ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย


ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
            โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเราเข้าใจโครงสร้างของภาษา  ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น  เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร 
            ในการแปลไทยเป็นอังกฤษผู้แปลมกพยายามค้นหาคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย  ถ้าหากได้ก็คิดว่าไม่มีปัญหา  ถ้าหากไม่ได้ก็คิดว่ามีปัญหา  นั่นคือส่วนหนึ่งของปัญหาในการแปล  ซึ่งปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ  ปัญหาทางโครงสร้าง ถึงแม้นักแปลจะรู้คำศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้  เพราะอาจตีความผิดหรือหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้  เช่น  ถ้าไม่เข้าใจโครงสร้างของประโยคกรรมในภาษาที่ตนแปลอาจตีความผิดเป็นประโยคกรรตุทำให้ความหมายเป็นตรงกันข้าม  ความผิดเช่นนี้พบได้บ่อยในหน่วยสร้างอื่นๆด้วย
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร  ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง  ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1         คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1          บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือคำสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
1.1.2          พจน์ (number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง  ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์ แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้
1.1.3          การก (case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร  สัมพันธ์กับคำในประโยคอย่างไร ภาษาต่างกันมรการแสดงการกด้วยวิธีต่างกัน  ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ  ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ
1.1.4          นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็นนามนับได้และนามนับไม่ได้ ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้  เพราะมีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้  ส่วนในภาษาอังกฤษมีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้
1.1.5          ความชี้เฉพาะ (definiteness) เป็นประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษแต่ไม่สำคัญในภาษาไทย  ได้แก่  การแยกความแตกต่างระหว่างคำนามชี้เฉพาะและคำนามไม่ชี้เฉพาะ  ในภาษาอังกฤษ a/an บ่งบอกถึงการไม่ชี้เฉพาะ (indefiniteness) และ the บ่งบอกถึงการชี้เฉพาะ (definiteness)
1.2         คำกริยา
เป็นหัวใจสำคัญของประโยค  การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม  เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท  มีการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
1.2.1          กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต
1.2.2          การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์  เช่น  การการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์  การเสร็จสิ้นของการกระทำ  การเกิดซ้ำของเหตุการณ์
1.2.3          มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา  มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร  ในภาษาไทยมาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น  ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา  ภาษาอังกฤษมาลาแสดงโดยการเปลี่ยนกริยาหรือกริยาช่วย
1.2.4          วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา  ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ  ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก  ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปเพื่อแสดงกรรตุวาจก
1.2.5          กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้  คำกริยาในภาษาอังกฤษมีการแยกกริยาแท้เพียงตัวเดียว  ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้

1.3         ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นมีความซับซ้อนน้อยกว่าคำนามและคำกริยา  และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
            หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง  เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่ต่างกัน  ซึ่งผู้แปลความให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (determiner)+ นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์  ส่วนนามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด
            2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย (ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี  ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก  ส่วนภาษาไทยวางตรงกันข้าม
            2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและมีแบบเดียว  แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
            2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language)  ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษซึ่งเน้น subject (subject-oriented language)
            2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
หน่วยสร้างคำในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล  ได้แก่  หน่วยสร้างกริยาเรียง  ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลาง  ยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า



3.สรุป
            3.1 เรื่องชนิดของคำ
ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี  ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด,นาม,กริยา,คุณศัพท์,วิเศษณ์,บุพบทและสันธาน  แต่ไม่มีลักษณนามและคำลงท้าย  ส่วนภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ  ยกเว้นคำคุณศัพท์และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
            สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ  แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน  สำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
            3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
            นามวลี นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ  แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้  การวางส่วนขยายในนามวลี  มีความแตกต่างกันอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  หน่วยสร้างกรรมวาจก  ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน  แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ  และไม่จำเป็นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป  ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ  แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน  และประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง  หน่วยสร้างกริยาเรียง  มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ  หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษข้างต้น  ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง  และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด