วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของกการแปล
            ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง  ตลอดจนการศึกษา  จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีอีกด้วย  ดังนั้นการแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ  การแปลจึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์  พินิจพิจารณาและกลั่นกรอง  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน  ผู้แปลต้องตีความถ้อยคำสำนวนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด  และเลือกใช้คำที่เหมาะสม  ตลอดจนศึกษาค้นคว้าศัพท์เฉพาะในวิชาการทุกสาขา  เพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
            การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส  จึงมีการฝึกนักแปล  มีการแปลอกสารในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก 
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย  ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว  ความต้องการด้านการแปลจึงมีมากขึ้นตามลำดับ  นอกจากนี้การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ  ทำให้เกิดความสันติภาพในโลก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย  เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ  ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา  การแปลเป็นเรื่องที่จำเป็น  เนื่องจากในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องราว  การพัฒนา  ธุรกิจพาณิชย์  จึงต้องมีกลุ่มนักแปลที่มีความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นๆ  กับนักภาษาที่สนใจในสาขานั้นด้วย  เพื่อพัฒนาภาษาให้ดีให้เหมาะสมกับเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
            เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา  การใช้ภาษา  รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ  เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว  โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
            การแปลคือการถ่ายทอดความคิดตากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง  โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ  ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น  อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกกด้วย
คุณสมบัติของผู้แปล
1.       เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.       สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.       เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.       เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.       ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้  รักเรียน  รักอ่าน  และรักการค้นคว้าวิจัย
6.       ผู้แปลจะต้องมีความอดทนและเสียสละ
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.       เป้าหมายที่สำคัญของการแปล  คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2.       การสอนแปลให้ได้ผล  เกี่ยวเนื่องกับ 2 ทักษะ  คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.       ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4.       ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
บทบาทของการแปล
            การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร  คือ  ผู้รับสาร (receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง  แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง  ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ  เพราะในการสื่อสารที่ผู้รับสารเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง  เข้าใจข้อความผิดขึ้นได้
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1.       ความหมายถูกต้อง  และครบถ้วนตามต้นฉบับ (equivalence in meaning)
2.       รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ (equivalence in style)
3.       สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา (register)
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.       ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ  ไม่ติดสำนวนฝรั่ง 
2.       สามารถนำต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้  เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.       ใช้การแปลแบบตีความ  แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่  ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
            การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน  การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1.       การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.       กาตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ  อาจดูจากสิ่งของ  รูปภาพ  การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
            ความใกล้เคียง (context) และความคิดรวบยอด (concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphrasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ  ความหมายจากความรอบข้างหรือปริบทของข้อความ  ผู้แปลต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจารูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
1.       องค์ประกอบของความหมาย
1.1   คำศัพท์ ถือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
1.2   ไวยากรณ์ หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา  เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
1.3   เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
2.       ความหมายและรูปแบบ
2.1   ในแต่ละภาษาความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.2   รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย  ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริบทเป็นสำคัญ
3.       ประเภทของความหมาย
3.1   ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หมายถึงคามหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งที่เป็นรูปธรรม-นามธรรม  หรือเป็นความคิด  มโนภาพ
3.2   ความหมายแปล (connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ซึ่งอาจเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.3   ความหมายตามปริบท (contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย  ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
3.4   ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจาการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย  ผู้แปลต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ  โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 
-          สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
-          สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
-          ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
            เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล  เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน  โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆๆของตนในการแปล  และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
            เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา  จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด  ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย  การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่างๆ จะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ  การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ  ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น