Learning log
ภาคเช้า 29 ตุลาคม 2558
เรื่องอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันนี้เป็นวันพฤหัสบดี
ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2558 เป็นวันที่มีฝนตกหนักตั้งแต่เช้า
ทำให้ดิฉันอยากจะนอนต่อเพราะบรรยากาศช่างน่าเป็นใจยิ่งนักต่อการนอน
แต่ดิฉันก็ต้องข่มใจตัวเองให้ตื่นนอนขึ้นมา เพราะวันนี้เป็นวันที่ดิฉันและเพื่อนๆ
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3
ทั้งสองห้อง จะต้องเข้าร่วมอบรมร่วมกับคณะครูอาจารย์จากสถาบันต่าง
ที่มาร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ในการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ห้องพรหมโยธี
ซึ่งเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.00-08.30 น.
และเริ่มการอบรมเวลา 09.00 น. ซึ่งหัวข้อในการอบรมคือ
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
เมื่อผู้เข้าร่วมอบรมมีความพร้อมแล้ว เวลาประมาณ 09.20 น. เริ่มการอบรมด้วยการกล่าวรายงานต่อประธานในพิธีเปิด โดย
ดร.สุจินต์ หนูแก้ว
รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเวลา 09.20-10.15 น. เป็นการเสวนทางด้านวิชาการวิจัยในหัวข้อเรื่อง Bayond Language Learning โดยมีผู้ร่วมในการเสวนา คือ
ดร.สุจินต์ หนูแก้ว อาจารย์สุนทร
บุญแก้ว และ ผศ.ดร.ประกาศิต
สิทธิ์ธิติกุล โดย ผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล
ได้เริ่มเปิดประเด็นในการสนทนาว่า คนเราจะต้องมีลักษณะ 5C คือ Communication Culture Connection Comparision
และ Communicative
แต่ ดร.สุจินต์
หนูแก้ว ได้กล่าวเสริมว่า 5C
ยังไม่พอในเรื่องคุณลักษณะที่เหมาะสมในสตวรรษที่21
นี้จะต้องประกอบไปด้วย 7C คือ Critical thinking and
Problem solving (เป็นทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา) Creativity and Innovation (เป็นทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (เป็นทักษะด้านความเข้าใจวัฒนธรรมและกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership
(ทักษะการร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวการณ์เป็นผู้นำ) Communications, Informations and Media
Literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร
และการรู้เท่าทันสื่อ) Computing
and ICT Literacy (ทักษะด้านความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) Caseer and Learning skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้) ท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า
ความสามารถในอ่าน การคิดคำนวณ เป็นสิ่งสำคัญ แต่ประเด็นที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ
ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
เพราะในปัจจุบันนี้ผู้คนรับข้อมูลข่าวสารผ่านการอ่าน แต่ขาดการคิดวิเคราะห์
ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในสังคม และท่านยังได้กล่าวเสริมอีกว่า บลูม
ได้ให้ทฤษฎีไว้ว่า ขั้นต่ำสุดของมนุษย์ในการเรียนรู้คือ ความรู้ ความจำ ขั้นที่สอง
คือ เข้าใจ ขั้นที่สาม คือ สามารถนำไปใช้ได้ ขั้นถัดไป คือ การวิเคราะห์
สังเคราะห์และการประเมินค่า แต่หลังจากนั้น ศิษย์ของบลูมได้กล่าวว่า
ความสามารถขั้นสูงสุดของมนุษย์นั้นคือ การ create สร้างสรรค์สิ่งใหม่
โดยนำเอาการสังเคราะห์ไปไว้หลังการประเมินค่า เมื่อเวลา 10.15-10.30 น.
ก็ได้เวลาพักรับประทานอาหารว่างและผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนก็ทยอยกันออกไปเพื่อรับประทานอาหารอาหารว่างหน้าห้องพรหมโยธี
หลังจากที่ทุกคนรับประทานอาหารว่างเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้เริ่มอบรมกันในหัวข้อถัดไปคือ
เรื่องความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียน โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร โดยท่านได้เริ่มกล่าวว่า 10 ภาษาที่มี่ผู้ใช้มากที่สุดในโลก อันดับที่หนึ่งคือ MANDARIN มีผู้ใช้ประมาณ 875 ล้านคน อันดับที่สองคือ HINDI / URDU มีผู้ใช้ประมาณ 570 ล้านคน อันดับที่สามคือ SPANISH มีผู้ใช้ประมาน
330 ล้านคน อันดับที่สี่ ENGLISH
มีผู้ใช้ประมาณ 328 ล้านคน
อันดับที่ห้าคือ ARABIC มีผู้ใช้ประมาณ 232 ล้านคน อันดับหก PORTUGUESE
มีผู้ใช้ประมาณ 220 ล้านคน อันดับที่เจ็ด BENGALI มีผู้ใช้ประมาณ
200 ล้านคน อันดับที่แปดคือ RUSSIAN มีผู้ใช้ประมาณ
145 ล้านคน อันดับที่เก้า JAPANESE มีผู้ใช้ประมาณ
126 ล้านคน และอันดับที่สิบคือ PUNJABI มีผู้ใช้ประมาณ 109 ล้านคน
เรื่องถัดไปก็คือคำพูดทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนนิยมใช้กันแต่ใช้ผิดและไม่มีอยู่ในภาษาอังกฤษ
เช่น คำว่า Jam ในประโยค I will jam you. โดยหลายคนจะให้ความหมายว่า ฉันจะสนุกร่วมกับคุณ แต่จริงๆแล้วภาษาอังกฤษ
คำว่า Jam จะหมายถึงติดขัด ถ้าเราจะใช้ประโยคในลักษณะแบบนี้ควรใช้คำว่า
I will joy you. และคำที่ชอบพูดติดปากมาช้านาน คือ คำว่า
ชุดแซก
ซึ่งเราจะหมายถึงชุดประโปรงที่อยู่ติดกันธรรมดาแต่ความจริงแล้วคำว่าชุดแซกมาจากชุดของชาวอังกฤษในสมัยก่อนที่มีลักษณะทรงกระบอกคล้ายๆกระบอกและมีเชือกผูกตรงเอว คำ Adjective บางตัวก็เช่นกันถ้าใช้มั่วๆอาจจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้
และ Adjective บางคำจะไม่ใช้ทั่วๆไป เช่น อร่อย ทั่วๆไปจะใช้
yummy หรือคำอื่นๆแต่จะไม่ใช้คำว่า delicious คำว่า delicious
นั้นจะใช้สำหรับอาหารหรูหราระดับภัตตาคาร ถ้าอาหารทั่วๆไปก็ใช้ yummy ปกติค่ะ และท่านก็ยังพูดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไป
ได้แก่ Self-actualization, Esteem, Social Needs, Safety and Security,
Physiological Needs (survival), Wifi ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น
ในช่วงเช้าสิ่งที่ได้รับก็คือ
คุณลักษณะที่เหมาะสมในศตวรรษที่21 ที่จะประกอบไปด้วย 7C
และได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่21 10
ภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก
คำทับศัพท์ที่มักใช้ผิด และคำ Adjective ที่ควรใช้ให้ถูกต้อง
สุดท้ายก็คือปัจจัยที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น