วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 4 (ในห้องเรียน)

Learning log 4 (ในห้องเรียน)
            ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว เราต้องอาศัยอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆด้วย ซึ่งการอยู่ร่วมกับบุคคลเหล่านั้นแน่นอนว่าเราจะต้องพูดคุยสื่อสารกับพวกเขาด้วย การสื่อสารจะทำให้บุคคลทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันได้จะต้องใช้ประโยคที่มีความสมบูรณ์ ถ้าเราใช้ประโยคไม่สมบูรณ์การสื่อสารของเราก็ไม่เป็นผล ผู้คนจะไม่เข้าใจในประโยคที่เราต้องการจะสื่อสาร เราควรจะใช้คำ ประโยคให้ถูกต้อง ดังนั้นเราจึงควรศึกษาส่วนประกอบต่างๆ ของประโยค เพื่อจะได้นำเอาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโครงสร้างของประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะมีความใกล้เคียงกัน ทั้งด้านรูปแบบโครงสร้างประโยค การเรียงประโยค จะช่วยให้คนที่ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษสามารถเข้าใจมันได้อย่างรวดเร็ว
            ประโยค คือ กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ภาคประธาน (Subject) และภาคแสดง (Predicate) ซึ่งภาคประธานสามารถมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เป็นคำนาม คำสรรพนาม อนุประโยค Gerund,  Gerund Phrase, Infinitive และ Infinitive Phrase ประธานจะบอกว่าใครเป็นผู้กระทำในประโยคนั้น ส่วนภาคแสดงจะบอกว่าประธานในประโยคทำอะไร ซึ่งภาคแสดงจะประกอบด้วยกริยาทั่วไปที่ไม่มีกรรมมารองรับและกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ ประโยคสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประโยคความเดียว (Simple Sentence), ประโยคความรวม (Compound Sentence), ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) ซึ่งประโยคทั้ง 4 ชนิดนี้จะมีความแตกต่างกัน เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
            ประโยคความเดียว (Simple Sentence) คือประโยคที่มีประโยคอิสระเพียงประโยคเดียว มีประธาน (Subject) ตัวเดียว และมรกริยา (Verb) ตัวเดียว Simple Sentence ยังแบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้ 5 รูปแบบ คือ ประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence) เช่น I live in Songkla.  ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) เช่น I do not like Kitty.  ประโยคคำถาม (Interrogative Sentence) เช่น Where are you from?  ประโยคขอร้อง (Imperative Sentence) เช่น Please open the door.  และประโยคอุทาน (Exclamatory Sentence) เช่น How cold it is! เป็นต้น
            ประโยคความรวม (Compound Sentence) คือประโยคที่ประกอบไปด้วยประโยคอิสระตั้งแต่สองประโยคขึ้นไปและมีคำเชื่อมมาเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เช่น Panya is tall. กับ Panya is handsome. เมื่อเอาประโยค 2 ประโยคนี้มารวมกันจะได้ว่า Panya is tall and handsome. ประโยคความรวมสามารถใช้ตัวเชื่อมได้ 3 แบบ คือ Co-ordinate conjunction มีทั้งหมด 7 ตัว คือ FANBOYS = for, and, nor, but, or, yet, so  การใช้คำเชื่อมแบบ Correlative conjunction เป็นตัวเชื่อมที่เป็นคู่ ได้แก่ either…or, neither…nor, not only…but also, both…and  การเชื่อมแบบสุดท้ายคือ Conjunctive adverb ได้แก่ moreover, besides, furthermore, otherwise, however, still, nevertheless, thus, therefore, consequently, hence และ accordingly เป็นต้น      
ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบไปด้วยประโยคย่อย 2 ประโยคขึ้นไป มีประโยคใจความหลัก (main clause) เป็นประโยคอิสระที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง มีประธานและส่วนขยายเป็นของตัวเอง และประโยคใจความรอง (subordinate clause) เป็นประโยครองที่ต้องอาศัยประโยคหลักอยู่ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ ประโยค Complex Sentence มีการใช้ตัวเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause ดังนี้ ใช้ subordinate conjunction เช่น if, since, because, that, lest, unless เป็นต้น ตัวอย่างประโยค Winai works as if he was a manchine.  ใช้ relative pronoun เป็นคำเชื่อม เช่น who, whom, whose, as, what, of which เป็นต้น ตัวอย่างประโยค She made the same mistake as her sister did. ใช้ relative adverb เป็นคำเชื่อม เช่น when, whenever, where, why, how เป็นต้น ตัวอย่างประโยค I don’t understand why you have done that.
ประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) คือประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่โดยประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กซ่อนอยู่ภายใน เป็นประโยคที่รวมกันระหว่าง Compound Sentence เข้ากับ Complex Sentence จึงกลายเป็น Compound-Complex Sentence จะประกอบด้วย main clause ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป และ subordinate clause อย่างน้อย 1 ประโยค เช่น Before Jack could go to the party, he had to finish his annual report, but he found it hard to concentrate.
เมื่อได้ศึกษาเรื่องชนิดของประโยคแต่ละชนิดแล้ว เรื่องต่อไปที่ศึกษาก็คือศึกษาเกี่ยวกับ Adjective Clause ซึ่งทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนามหรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ประโยค Adjective Clause มักจะนำหน้าด้วยคำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative Words) ซึ่งได้แก่ Relative Pronoun (who, whom, whose, which, of which, that as, but)  และ Relative Adverb (when, why, where) Adjective Clause สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ Restrictive Clause คือการชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า ว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน ไม่ใช้เครื่องหมายใดๆ มาคั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause เช่น The group of foreigners who visited our university was from Hawaii. ประเภทที่สองคือ Non-restrictive Clause คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause เช่น His house, which is on Sukhumvit road, is a two-storey house.  ประเภทสุดท้ายคือ Sentential Relative Clause คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main  clause เช่น Jim got more money than other ,members in the team, which is not fair.
การทำ Adjective Clause ให้เป็น Adjective Phrase สามารถทำได้โดยการลดรูป Adjective Clause ซึ่งจะมีคำนำหน้า who, which และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปได้โดย เมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ดังนี้ คือ Appositive Noun Phrase, Prepositional Phrase, Infinitive Phrase และ Participial Phrase ซึ่งการจะทำให้ Adjective Clause เป็น Appositive Noun Phrase นั้น จะต้องมี who, which และ that เป็นประธาน เราสามรถลดรูปได้ถ้าหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกเมื่อลดรูปแล้วจะได้ Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. เมื่อลดแล้วจะได้เป็น Prof. Chakarin, my thesis adviser, will retire next year. ต่อไปคือ Prepositional Phrase เมื่อ Adjective Clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who, which และ that นั้นมีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ ดังนี้ The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen. จะได้เป็น The lady in the national costume is a beauty queen. ต่อไปคือ Infinitive Phrase เมื่อ Adjective Clause มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + Infinitive with to ดังนี้  The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis. จะได้เป็น The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis. สุดท้ายคือ Participial Phrase ซึ่งมี 2 ประเภทคือ Present Participial Phrase เมื่อ Adjective Clause มี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้เลยหากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปได้โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น Present Participle (V.ing) ดังนี้  The school students who visited the national museum were very excited. จะได้เป็น The school students visiting the national museum were very excited.  และ Past Participial Phrase เมื่อ Adjective Clause มี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง which และ who มีกริยารูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออกดังนี้ His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. เมื่อลดรูปจะได้เป็น  His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.

จากการศึกษาเกี่ยวกับประโยค ชนิดของประโยค Adjective Clause และการลดรูปจาก Adjective Clause ให้เป็น Adjective Phrase นั้นทำให้เราต้องตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้มา เนื่องจากเป็นสิ่งใกล้ตัวสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นเพื่อให้เกิดการเข้าใจกันในการสื่อสาร สื่อภาษา ทำให้สามารถสนทนากับผู้อื่นได้อย่างไม่เกิดปัญหา นอกจาการสนทนาแล้ว ยังสามารถทำให้เราเขียนประโยคได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อเราฝึกใช้บ่อยๆ จะทำให้เราสามารถสนทนาและแต่งประโยคได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น