วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 7 (ในห้องเรียน)

Learning log 7 (ในห้องเรียน)
                การศึกษาที่เกิดจากในชั้นเรียนสัปดาห์นี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของประโยคเงื่อนไขหรือที่เรารู้กันในชื่อเรียกว่า If Clause หรือ Conditional Sentences เป็นการศึกษาเรื่องของประโยคเงื่อนไข ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นมากๆสำหรับการเรียนด้านภาษา เพราะประโยคที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประโยคเงื่อนไข มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
            If Clause คือประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (Conditions) หรือการสมมติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย conjunction “if” ประธานที่นำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลของเงื่อนไขนั้น เรียกว่า main clause หรือจะให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือ ประโยคเงื่อนไขที่ใช้เพื่อแสดงว่า “ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก็จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา” ซึ่งประโยค if-clause กับประโยค main clause สองส่วนนี้สามารถสลับตำแหน่งกันได้ แต่ถ้า if  อยู่ด้านหน้าจะต้องมีเครื่องหมาย (,) คั่นตรงกลาง แต่ถ้าเอาส่วนที่เป็นผลขึ้นก่อนก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย (,) ดังนี้ If I have one million baht, I’ll buy a new car. ถ้าสลับตำแหน่งกันจะได้ว่า I’ll buy a new car if I have one million baht.  if-clause สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นการสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แบบที่ 2 เป็นการสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย และแบบที่ 3 เป็นการสมมติในอดีตที่ไม่อาจเป็นไปได้เลยและตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
            ประโยค if-clause แบบที่ 1 คือ ประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ในปัจจุบันแสดงเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอหรือคาดว่าจะเป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ประโยคที่มี if หรือประโยคเหตุจะใช้ Present Simple Tense ส่วนประโยคผลจะใช้ Future Simple Tense เขียนโครงสร้างได้ คือ If + present simple, subject + will + V.1 ตัวอย่างเช่น If I have enough money, I will go to Japan.   He will pass the exam if he works hard. เป็นต้น นอกจากนี้ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 1 นี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน main clause ใน 4 กรณีต่อไปนี้ (1.) เงื่อนไขที่แสดงความอาจจะเป็นไปได้ ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็นกริยาช่อง 1 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น may/might + คำกริยารูปเดิม เช่น If we are free, we may (might) go to the movie tonight. (2.) เงื่อนไขที่แสดงความสามารถ ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็นกริยาช่อง 1 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น can + คำกริยารูปเดิม เช่น If the rain stops, they can go out. (3.) เงื่อนไขที่แสดงการขอร้องหรือคำสั่ง ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็นกริยาช่อง 1 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น must/should + คำกริยารูปเดิม เช่น If you want to be fat, you must (should) eat more. (4.) เงื่อนไขที่แสดงงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเป็นนิสัยหรือข้อเท็จจริง ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็นกริยาช่อง 1 ส่วนผลคำกริยาจะเป็นช่อง 1 เช่นกัน เช่น If you throw stone into the water, it sinks.
            ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 คือประโยคเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่งเกิดขึ้น โครงสร้างคือ If + past simple, subject + would + V.1 ตัวอย่างเช่น If I had a private jet, I would go to New Zealand.   She would be safer if she had a car. เป็นต้น นอกจากนี้ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 นี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน main clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ (1.) ใช้ might แทน would เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ และใช้ could แทน would เพื่อแสดงความสามารถ ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยา จะเป็นกริยาช่อง 2 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น might/could + คำกริยารูปเดิม ดังนี้ If he tried again, he might get the answer. (2.) ถ้าคำกริยาใน main clause เป็น verb to be จะต้องใช้ were เพียงตัวเดียวไม่ว่าประธานจะเป็นอะไรก็ตาม ส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็น were ส่วนผลคำกริยาจะเป็น would + คำกริยารูปเดิม ดังนี้ If I were you, I would play with John.
            และประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 คือเป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงข้ามกับความจริง แสดงความเป็นไปไม่ได้ในอดีตหรือเป็นการสมมติเหตุการณ์ในอดีตไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น โครงสร้างคือ If + past perfect, subject +would have + V.3 ตัวอย่างเช่น If I had set my alarm clock, I wouldn’t have got up late.   I would have been in big trouble if you had not helped me. เป็นต้น นอกจากนี้ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 นี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน main clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ (1.) ใช้ could have แทน would have เพื่อแสดงความสามรถ ในส่วนที่เป็นเหตุคำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น could have + คำกริยาช่อง 3 ดังนี้ If he had met her, he could have helped her. (2.) ใช้ might have แทน would have เพื่อแสดงความเป็นไปได้ ในส่วนที่เป็นเหตุ คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3 ส่วนผลคำกริยาจะเป็น might have + คำกริยาช่อง 3 ดังนี้ If we had finished our homework, we might have gone to the movie.

            จากการศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของ if-clause ทำให้ตัวของดิฉันเองได้รู้ว่ายังต้องปรับปรุงทำความเข้าใจกับประโยค if-clause ให้มากขึ้น เพราะยังมีความไม่เข้าใจอยู่บ้างในบางส่วน แต่ถ้าเราได้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวของ if-clause แล้วจะทำให้เราเก่งด้านภาษาอังกฤษได้ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น