วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 3 (ในห้องเรียน)

Learning log 3 (ในห้องเรียน)
จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในชั้นเรียนในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Tense ศึกษาหลักการในการใช้ Tense ทั้ง 12  เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ปะกอบในการเรียนวิชาอื่นๆ และใช้ในการแปลด้วย เพื่อที่จะแปลได้อย่างถูกต้อง กะทัดรัด สละสลวยและได้ใจความ เพราะ Tense เป็นสิ่งสำคัญและเป็นหัวใจหลักของภาษาอังกฤษ ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับเรื่องของ Tense เพื่อที่จะให้งานของเรออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น Tense จะแบ่งออกเป็น 3 Tense ใหญ่ๆ คือ Present Tense, Past Tense และ Future Tense
Present Tense เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ได้แก่ Present Simple Tense มีโครงสร้างคือ S + V.1  เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ เรื่องจริงของธรรมชาติ ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือเป็นนิสัย ตัวอย่างเช่น I always get up early.  We play football everyday.  The sun rises in the east. เป็นต้น Present Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S + is/am/are + V.ing เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด หรือเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน หรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่ค่อนข้างจะเกิดขึ้นแน่นอน เช่น My mother is cooking in the kitchen now.  We are going to Phuket next week. เป็นต้น  Present Perfect Tense มีโครงสร้างคือ S + Have/has + V.3 เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในขณะที่พูด เช่น I have lived here since 2000.  Ha has turned on the light. และ We have already had dinner เป็นต้น และ Present Perfect Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S + have/has + been + V.ing  เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและยังดำเนินต่อไปในอนาคต เช่น I have been driving for two hours.
Past Tense เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ Past Simple Tense มีโครงสร้างคือ S + v.2 เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต จะมีกลุ่มคำที่แสดงถึงความเป็นอดีตอยู่ด้วย เช่น I went to church yesterday.  She bought that car last year. เป็นต้น  Past Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S + was/were + V.ing เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต หรือให้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินในอดีตในเวลาเดียวกัน เช่น While I was watching the football match, I had a headache.  และ We were playing while they are studying. ตามลำดับเป็นต้น Past Perfect  Tense มีโครงสร้างคือ S + had + V.3 เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนให้ใช้ Past Perfect Tense ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังให้ใช้ Past Simple Tense และบอกถึงการแสดงความปรารถนาในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เช่น I went to work after I had eaten breakfast. และ We wish  we had passed the examination. ตามลำดับเป็นต้น และ Past Perfect Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S +had +been + V.ing เป็นการกล่าวถึงการเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ เช่น  I had been sleeping for two hours when he come in. เป็นต้น
Future Tense เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ Future Simple Tense มีโครงสร้างคือ S + will/shall + V.1 เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น I shall go to school tomorrow. เป็นต้น  Future Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S + will/shall + be + V.ing เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต หรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยระบุเวลาที่ชัดเจน เช่น He will be sleeping when I go to his house this evening. และ At nine o’clock tomorrow, they will be studying at school. ตามลำดับเป็นต้น Future Perfect Tense มีโครงสร้างคือ S + will/shall + have + V.3 เป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคตเป็นเพียงการคาดการณ์ไว้ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและสมบูรณ์ในอนาคต เช่น He will have received my letter when I arrive at work. และ I shall have woken up by breakfast time. ตามลำดับเป็นต้น และ Future Perfect Continuous Tense มีโครงสร้างคือ S + will/shall + have + been + V.ing เป็นการบอกถึงการเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์เมื่อถึงเวลานั้นก็ยังดำเนินอยู่และจะยังคงดำเนินต่อไป เช่น By the next week I shall have been living here for two years เป็นต้น
จึงสรุปได้ว่าการศึกษาเรื่อง Tense มีความสำคัญมาก ถ้าเปรียบเป็นบ้าน Tense ก็คือเสาของบ้าน เพราะกริยาจะบ่งบอกว่าประธานในประโยคได้ทำอะไร เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไร ซึ่งเราจะยึดตามภาษาไทยไม่ได้เพราะรูปกริยาในภาษาไทยจะไม่บ่งบอกเรื่องเวลา ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องของ Tense กล่าวคือถ้าเราตีความ Tense ผิดจะทำให้งานแปลของเราผิดไปด้วย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น