Learning log
ภาคเช้า 30 ตุลาคม 2558
อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่
30 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่สองของการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
โดยในช่วงเช้าท่านวิทยาการ ผศ.ดร. ศิตา
เยี่ยมขัยติถาวร
จะมาพูดคุยกันในหัวข้อ วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะประกอบไปด้วยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งแนวการสอนแบบนี้จะมีความสำคัญมากสำหรับครูและนักเรียนในศตวรรษที 21 นี้ ซึ่งจะมีประเด็นที่สำคัญอยู่ 4 ประเด็น
ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่
1 แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา
ซึ่งจะมีวิธีการสอนแบบไวยากรณ์แลแปล (The Grammar-Translation Method) โดยเป็นการเรียนการสอนที่ไม่เน้นการฟังและการพูด
แต่จะเน้นการเรียนการสอนและการแปล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านตำราและวรรณคดีภาษากรีกและภาษาลาตินได้
และผู้เรียนยังสามารถอ่านบทเรียนได้อย่างเข้าใจและเห็นคุณค่าของคำประพันธ์ภาษาต่างประเทศ
ซึ่งเน้นการท่องจำ และความถูกต้องในการใช้ภาษา วิธีต่อไปก็เป็นวิธีการสอนแบบตรง (The
Direct Method) เป็นการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียนจริงๆ
เรียนการสอนจึงใช้ภาษาต่างประเทศที่เรียนตลอดเวลา
เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้และให้ผู้เรียนฝึกเลียนแบบเสียงและแยกเสียงให้ถูกต้อง วิธีสุดท้ายคือวิธีสอนแบบฟัง-พูด (The Audio-Lingual Method) เป็นการสอนที่ควรเริ่มจากการฟัง-พูดภาษาที่เรียน ควรเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้ในชีวิตประจำวัน
มีการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ซึ่งผู้เรียนจะต้องเลียนแบบเสียงของผู้สอน
จนสามารถฟังเข้าใจ เน้นการท่องจำบทสนทนาแล้วจึงเริ่มการฝึกอ่านและเขียน
ประเด็นที่
2 แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์
จะเป็นวิธีการสอนแบบเงียบ (The Silent Way)
เป็นการสอนที่เน้นความรู้ความเข้าใจ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนคิดเอง
ผู้สอนจะพูดน้อยที่สุดและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดและแก้ไขปัญหา วิธีสอนตามแนวธรรมชาติ (The Natural
Approach) เป็นการสอนที่เลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก
ซึ่งเป็นการรับรู้ตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน
พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยยังให้ความสำคัญในการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง วิธีสอนแบบชักชวน (Suggestopedia) เป็นการสอนที่ผู้สอนโน้มน้าวให้ผู้เรียนใช้สมองอย่างเต็มที่
โดยขจัดความกลัว ความวิตกกังวล และข้อห้ามต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษา
วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเป็นการสอนที่ได้แนวคิดจากการวิจัยด้านจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้
โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการจำในเชิงจิตวิทยา มีความเชื่อว่าถ้าบุคคลใดได้รับการฝึกฝนบ่อยๆ
อย่างต่อเนื่อง จะเกิดการเก็บสะสมประสบการณ์ต่างๆ สามารถระลึกและถ่ายทอดออกมาได้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกในกกลุ่มประสบความสำเร็จในเป้าหมายตามที่กำหนด
การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning)
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ใช้ภาระงานเป็นหลัก
โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฏิบัติภาระงาน การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based
Learning)
เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ภายในระยะเวลาที่กำหนดจนได้ผลตามจุดประสงค์ที่กำหนด
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เริ่มต้นจากผู้เรียนเป็นผู้คิด
ลงมือปฏิบัติ หาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้สอนคอยชี้แนะช่วยเหลือ
ประเด็นที่
3 แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์
โดยเน้นที่ตัวผู้เรียนซึ่งผู้เรียนหรือผู้สอนจะเลือกสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะต้องประสบในการใช้ภาษาแล้วเอาภาษาที่ใช้ในสถานการณ์นั้นมาจัดสอน
ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนหรือของบทเรียน
และแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (The Communicative Approach หรือ Communicative Language Teaching)
เป็นการจัดการเรียนการสอนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน
โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำ
แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ ควรใช้ภาษาที่พบในสถานการณ์จริง
เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ ไวยากรณ์และการออกเสียง
และประเด็นที่
4
การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้เป็นการสอนภาษาที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆ
มาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา
ผู้เรียนจะใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอีกด้วย
ดังนั้นเนื้อหาที่เลือกมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณาการการสอนภาษาทั้ง 4 ทักษะด้วย คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน
และยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ได้
จาการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในภาคเช้านี้
ทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมายทั้งเป็นเทคนิควิธีการจัดรูแปบบการเรียนการสอนที่จะทำให้ห้องเรียนไม่มีความน่าเบื่อ
ดึงดูดความสนใจของเด็กนักเรียนให้มีความอยากรู้อยากเรียนอยู่ตลอดเวลา
และยังเป็นประโยชน์ต่อการที่นักศึกษาจะนำเอาไปเป็นแบบอย่างได้ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น