วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 6 (ในห้องเรียน)

Learning log 6 (ในห้องเรียน)
            ศึกษาในห้องเรียนเรื่อง Adjective Clause ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและให้มีความเข้าใจในประโยค Adjective Clause เพราะประโยคมีความซับซ้อน ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจ เวลาเราทำงาน งานที่ออกมานั้นอาจจะไม่สมบูรณ์ การศึกษา Adjective Clause จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะละทิ้งไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งประโยค Adjective Clause จะทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายนามหรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ประโยค Adjective Clause มักจะนำหน้าด้วยคำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative Words)
            เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ Restrictive Clause คือการชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า ว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน ไม่ใช้เครื่องหมายใดๆ มาคั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause เช่น The group of foreigners who visited our university was from Hawaii. ประเภทที่สองคือ Non-restrictive Clause คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause เช่น His house, which is on Sukhumvit road, is a two-storey house.  ประเภทสุดท้ายคือ Sentential Relative Clause คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main  clause เช่น Jim got more money than other ,members in the team, which is not fair.
            การทำ Adjective Clause ให้เป็น Adjective Phrase สามารถทำได้โดยการลดรูป Adjective Clause ซึ่งจะมีคำนำหน้า who, which และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปได้โดย เมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ดังนี้ คือ Appositive Noun Phrase, Prepositional Phrase, Infinitive Phrase และ Participial Phrase ซึ่งการจะทำให้ Adjective Clause เป็น Appositive Noun Phrase นั้น จะต้องมี who, which และ that เป็นประธาน เราสามรถลดรูปได้ถ้าหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกเมื่อลดรูปแล้วจะได้ Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. เมื่อลดแล้วจะได้เป็น Prof. Chakarin, my thesis adviser, will retire next year. ต่อไปคือ Prepositional Phrase เมื่อ Adjective Clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who, which และ that นั้นมีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ ดังนี้ The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen. จะได้เป็น The lady in the national costume is a beauty queen. ต่อไปคือ Infinitive Phrase เมื่อ Adjective Clause มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + Infinitive with to ดังนี้  The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis.
            ประเภทสุดท้ายคือ Participial Phrase ซึ่งมี 2 ประเภทคือ Present Participial Phrase เมื่อ Adjective Clause มี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้เลยหากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปได้โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น Present Participle (V.ing) ดังนี้  The school students who visited the national museum were very excited. จะได้เป็น The school students visiting the national museum were very excited.  และ Past Participial Phrase เมื่อ Adjective Clause มี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง which และ who มีกริยารูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออกดังนี้ His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. เมื่อลดรูปจะได้เป็น  His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
จากการศึกษาเรื่อง Adjective Clause และการลดรูปให้เป็น Adjective Phrase นั้น ทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งที่ได้ไปศึกษามาเพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียน และการสร้างประโยคต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง จึงควรที่จะฝึกใช้ให้บ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น